วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ความสำเร็จ ?

นั่งดูเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ย้อนหลัง มีอยู่ช่วงหนึ่งที่โค้ชสิงโตพูดถึงความสำเร็จในฐานะนักดนตรี ซึ่งพี่สิงโตหยอดข้อคิดของเขาไว้อย่างน่าประทับใจและซาบซึ้งมาก คัดออกมาให้อ่านอีกครั้ง สำหรับคนที่พลาดไม่ได้ดูรายการ:

"มีคนถามผมว่าถ้าไม่ประสบความสำเร็จทางด้านดนตรี
ชีวิตนี้จะไปทำอะไรต่อ?
ผมก็เลยถามเขากลับไปว่า
แล้วอะไรคือคำว่าประสบความสำเร็จทางด้านดนตรี?
ต้องมีชื่อเสียงโด่งดังใช่มั้ย? ต้องมีเพลงฮิตใช่มั้ย?
แบบนี้ใช่มั้ยถึงจะเรียกว่าสำเร็จ ถึงจะมีความสุข?

ผมว่าจริงๆ แล้วการที่เราได้ขึ้นมาร้องเพลงบนเวที
การที่เราได้หยิบกีตาร์มาร้องเพลงในร้านอาหาร
ผมว่าสิ่งนี้แหละคือความสำเร็จแล้ว

ถ้ากลับบ้านไป มีคนถามคุณว่าประสบความสำเร็จมั้ย?
ให้คุณตอบไปเลยว่าประสบความสำเร็จ
ตั้งแต่วันที่กล้าก้าวเข้ามาประกวดบนเวทีแห่งนี้แล้ว
เพราะฉะนั้น ไม่มีเหตุผลเลยที่คุณจะหยุดร้องเพลง
เพียงเพราะไม่ได้ถูกผมเลือกให้เข้ารอบต่อ"

สิ่งที่โค้ชสิงโตพูดในรายการ ทำให้ผมย้อนนึกถึงความสำเร็จในฐานะนักกฎหมาย ว่าดัชนี้ชี้วัดความสำเร็จของนักกฎหมายมันอยู่ตรงไหนกัน? อย่างไหนเหรอที่เรียกว่าประสบความสำเร็จ? เราจำเป็นต้องสอบเข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาอัยการหรือเปล่า? ต้องเป็นทนายหรือที่ปรึกษากฎหมายรายได้เดือนละหลายแสนมั้ย? หรือต้องเป็นอาจารย์สอนกฎหมายมหาวิทยาลัยดังใช่หรือเปล่า?

ผมก็เหมือนเด็กๆหลายๆคน ที่ถูกสังคมปลูกฝังความสำเร็จในแบบที่ตายตัว สมัยที่ผมเพิ่งเรียนจบใหม่อยู่ในวัยฮอร์โมนเอสโตรเจน พุ่งพล่านไปด้วยความทะเยอทะยานและความฝัน อยากร่ำรวยมีเงินทองและคนนับหน้าถือตา จึงก้มหน้าก้มตาทุ่มเททำงาน

แต่อยู่มาวันหนึ่งซึ่งเป็นหนึ่งในวันที่ชีวิตบัดซบมาก ทำงานอะไรก็ไม่ดีไปหมด กลับบ้านฝนก็ตก รถก็ติดในซอยไม่ขยับมาหลายชั่วโมง ขณะที่ผมมองออกไปนอกหน้าต่างรถแท็กซี่ กลับพบชายวัยกลางคนกำลังอุ้มลูกชายเคียงข้างภรรยาขายลูกชิ้นทอดข้างถนน ชี้ให้ลูกดูรถหรูราคาแพงที่่กำลังติดไม่ขยับ หยอกล้อกับภรรยา และหัวเราะมีความสุขกับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผมมองดูชายคนนั้นหัวเราะประหนึ่งว่าเขากำลังเยาะเย้ยมาที่พวกผมว่า

"นี่เหรอ คือ สิ่งที่พวกมึงทุ่มเทเวลาทั้งชีวิตเพื่อไล่ตามมัน พวกมึงอาจจะมีรถหรูราคาหลายสิบล้าน แต่ก็ยังไปหน้าปากซอยช้ากว่ากูเดินเสียอีก 5555"

ผมแอบตอบโต้ความคิดของผมในใจว่า "กูยังนั่งแท็กซี่อยู่เลย สัส! " 55

แต่ภาพที่เห็นตรงหน้ามันก็กระตุกต่อมความคิดผมเหมือนกันว่า นี่หรือ คือ หนทางที่เราเลือกจะเดิน เป็นหนทางสู่ความฝันที่ต้องแลกมาด้วยความเหน็ดเหนื่อยใช่มั้ย?

แล้ว.... ทำไมตอนนี้เราไม่มีความสุขวะ เราดิ้นรนไล่ตามสิ่งที่คนทั่วไปมองว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ความสำเร็จ เรามาถูกทางแล้ว แต่ทำไมเรายังเครียดทุกวันและดูเหมือนจะมากขึ้นเรื่อยๆ ทำไมเราไม่มีเวลาออกกำลังกายจนเจ็บป่วยออดๆแอดๆ? แล้วครั้งสุดท้ายเรากลับบ้านไปหาพ่อแม่เมื่อไรนะ? นีแต่ละวันเราใช้เวลาอยู่กับใครไม่รู้มากกว่าอยู่กับคนี่เรารักเสียอีก

คิดได้อย่างนั้น ผมนี่ ตัวสั่น น้ำตาคลอเลยนะ โชเฟอร์แท็กซี่เหมือนจะรู้ เพราะผมเห็นเหลือบมองผมจากกระจกส่องหลังอยู่บ่อยๆ แทบไม่คาดคิดว่าแกจะหันกลับมาปลอบใจผมว่า

"น้อง... เดี๋ยวลงไปต่อรถไฟฟ้าเร็วกว่านะ พี่จะรีบไปส่งรถ..."

ผมจ่ายเงินและลงจากแท็กซี่ด้วยหัวใจสั่นเทิ้ม ฝนยังคงไม่หยุดตก และผมก็เปียกปอนไปทั้งตัวเพราะไม่ได้พกร่มมา มีเพียงสิ่งเดียวที่ทำให้ผมเบิกบาน คือ อย่างน้อยผมรู้แล้วว่าดัชนีวัดความสำเร็จจริงๆแล้ว คือ อะไร ? มันไม่ใช่วัดจากจำนวนเงินทอง ไม่ได้วัดจากความใหญ่โตของบ้าน หรือหน้าตาทางสังคม อะไรทั้งนั้น

แต่จริงๆแล้ว ดัชนีวัดความสำเร็จของเรา คือ ปริมาณความสุขจากสิ่งที่เรากำลังทุ่มเททำอยู่ ต่างหาก

หลายคนมีความสุขกับการทำงานเยอะๆ มีความสุขที่ตัวเองดูยุ่งตลอดเวลา บางคนมีความสุขกับการเป็นที่สนใจ บางคนมีความสุขกับความร่ำรวย ยิ่งรวยยิ่งมีความสุข ขณะที่บางคนอาจจะมีความสุขแบบพอเพียง มีความสุขกับเงินที่น้อยลงแต่เวลาที่มากขึ้น และบางคนอาจจะมีความสุขกับการอยู่เพื่อช่วยเหลือสังคมและผู้อื่น ของอย่างนี้มันชี้นำกันไม่ได้ ถ้าความรักจะออกแบบไม่ได้ ความสุขแต่ละคนก็ออกแบบไม่ได้เช่นกัน และทำให้ดัชนีความสำเร็จของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไป

อย่าเอาดัชนีความสำเร็จของตนเองไปวัดคนอื่น ขณะที่อย่าเอาดัชนีความสำเร็จของคนอื่นมาใช้กับตัวเอง

สุดท้าย ขอจบการพร่ำเพ้อไปด้วยคำสอนขององค์ดาไลลามะ ที่ผมชอบมากๆ

"มนุษย์เรานี้ ยอมสูญเสียสุขภาพเพื่อทำให้ได้เงินมา แล้วต้องยอมสูญเสียเงินตรา เพื่อฟื้นฟูรักษาสุขภาพ แล้วก็เฝ้าเป็นกังวลกับอนาคต จนไม่มีความรื่่นรมย์กับปัจจุบัน ผลที่เกิดขึ้นจริงๆ ก็คือ เขาไม่ได้อยู่กับปัจจุบันหรือแม้กระทั่งอยู่กับอนาคต เขาดำเนินชีวิตเสมือนหนึ่งว่าเขาจะไม่มีวันตาย และแล้วเขาก็ตายอย่างไม่เคยมีชีวิตอยู่จริง"

- Worraole Atcha

วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

Hatyai Midnight Run 2017

บันทึก Staff งานวิ่งครั้งแรก 
ประมาณตีหนึ่งกว่าๆ ผมไปอยู่จุดให้น้ำนักวิ่ง mini marathon ตรงจุดกลับตัว ก็คือ ประมาณ 5 กิโลกว่าๆ ตอนนั้นก็จะเก็บจุดล่ะ คือคิดว่าคนน่าจะหมดแล้ว เพราะเห็นรถเทศกิจขับรถเก็บกรวยมาเรื่อยๆ เจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยข้างผมก็วอถาม ปรากฏมีหว่ะ หืออ ไหนว่ะ เห็นทางนี่เงียบมาก... จากนั้นแสงสว่างไฟฉุกเฉินรถพยาบาลก็เริ่มสว่างขึ้น เข้ามาเรื่อยๆ เราก็แบบเห้ย มีคนวิ่งจริงๆ นับถือใจคนนั้นเลย คือเราว่ามันกดดันมากน่ะ เวลาเหลือคนสุดท้ายอ่ะ นอกจากกดดันตัวเองให้ทำให้ได้แล้ว ยังกดดันสภาพแวดล้อมอีก ไหนรถพยาบาลตามหลัง ไหนรถตำรวจคอยขนาบข้างดูแลรักษาความปลอดภัย
เขาก็วิ่งมาเรื่อยๆจนเห็น ว่ามีสองคนว่ะ เป็นน้องผู้ชาย คนอ้วนคนนึง แล้วก็เพื่อนคนผอมอีกคน โดยตลอดทางที่เห็นคือ น้องคนผอมจะวิ่งนำหน้าไปสักนิด แล้วจะหันหลังกลับมาดูเพื่อน พร้อมวิ่งถอยหลังไปข้างหน้าพร้อมๆกัน ทำแบบนี้ตลอดเวลา พอมาตรงจุดให้น้ำ ผมก็ถามว่าเอาน้ำไหมครับ น้องบอก เดี๋ยวค่อยเอาอีกฝั่งนึงครับ โอเค ผมก็บอกให้น้องๆช่วยย้ายโต๊ะให้ไปอีกฝั่ง น้องกลับมาจะได้ดื่ม ไม่ต้องเก็บโต๊ะน่ะ แล้วก็นั่งรอน้องประมาณเกือบ 20 นาที ทุกคนตอนนั้นผมดูสีหน้าแล้วเข้าใจความรู้สึกดีของคนทำงาน มันหนื่อย มันง่วงแล้ว อยากกลับบ้าน แต่ไม่รู้แหล่ะ น้องบอกก็ต้องรอ ผมก็พูดขึ้นมาว่า mini marathon รู้สึกเขาจะให้ time out 2 ชม.ครึ่ง ใช่ไหมครับ นี่แค่ ชม.กว่าๆ เองน่ะ พี่อีกคนนึงก็บอกใช่ มีสิทธิจะวิ่งจะเดินก็สิทธิของเขา ทุกคนก็ไม่พูดว่าอะไรต่อ
พอน้องเขามาถึงอีกครั้ง ก็แวะดื่มน้ำ แต่เหมือนน้องจะไม่อยากดื่มแฮะ รถพยาบาลก็เรียกน้องผู้ชายคนผอมเข้าไปคุย ว่าจะวิ่งถึงตอนไหน น้องเขาต่อลองเวลาไป แล้วเดินออกมา พาเพื่อนวิ่งต่อ ผมได้แต่บอกว่า สู้ๆครับ เข้าเส้นชัยให้ได้ แล้วก็เก็บจุดรถมารับกลับศูนย์ประสานงาน จากนั้นผมก็หาอะไรกิน เคียร์เงินอะไรเรียบร้อย ก็แวะไปถามพี่ที่จุดแจกเหรียญเข้าเส้นชัย ว่าน้องสองคนมายังครับ พี่เขาบอกว่าไม่มาเลย วอถามไปใกล้ถึงล่ะ เราก็เออ น้องจะถึงเปล่าว่ะ แต่คือยังไงผมเชื่อในตัวน้องเขาว่าไม่ยอมแพ้แน่นอน น้องคนผอมต้องลากเพื่อนเข้าได้แน่ๆ ก็ชวนเพื่อนอีกคนยืนรอ
และแล้วไฟฉุกเฉินมาอีกครั้ง ใกล้เข้ามาสว่างขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับกลุ่มรถจักรยานยนต์สองกลุ่มใหญ่คือ รถตำรวจและรถกู้ภัย มาเกือบ 20 คน แลดูยิ่งใหญ่ชิบหาย 5555 ผมรีบวิ่งไปจุดเข้าเส้นชัยที่ร้าง เพราะไม่มีนักวิ่งอยู่เลย ไม่กลับกันแล้ว ก็ไปถ่ายรูปหน้าเวทีกันหมด มีแต่ Staff ที่คอยแจกเหรียญ
จากนั้นก็เห็นผู้ชายสองคนนี้ก็เข้ามา ผมโครตอึ้งเลยหว่ะ นับถือใจน้องสองคนจริงๆ จังหว่ะนั้นคือปรบมือให้รัวๆอยู่คนเดียวเลย เพราะไม่มีใครเลย ไม่แคร์สายตาสต๊าฟคนอื่นแม่งล่ะ โครตดีใจแทน แล้วพูดออกไปว่า คิดไว้แล้วว่าต้องทำได้ เยี่ยมเลยครับ คุณแม่ก็เข้ามาขอบคุณใหญ่เลย แล้วก็ได้ยินคำนึงที่น้องคนผอมบอกว่า "มึงทำได้แล้วน่ะ 10 กิโล" เหยดดดเขร้ แม่งเอ้ยย สำหรับเราเวลาสู้เพื่ออะไรสักอย่าง พอมันสำเร็จจะมีความหมายมากจริงๆ เชื่อว่าน้องเขาคิดเป็นอย่างนั้น และคงตั้งใจไว้แล้วว่าเอาชนะให้ได้ ขอเพื่อนแบบนี้สักคนได้ไหม คนที่พร้อมจะไปด้วยกัน รู้สึกพลาดที่ไม่ได้ลงแข่ง แต่รู้สึกดีที่ได้เจอเรื่องแบบนี้น้องแมร่งเป็นแรงบรรดาลใจให้อยากวิ่งจริงๆน่ะ เติมเชื้อไฟอย่างดีเลย หวังว่ามีโอกาส จะได้ร่วมวิ่งด้วยกันสักครั้งครับ
เราอาจจะชนะ หรือ อาจจะแพ้
แต่ถ้า เราไม่สู้
.
.
..เรา แพ้ แน่นอน
.
สำหรับผมนั่งวิ่งทุกคนควรได้รับเสียงปรบมือทั้งหมด เพราะเขาเอาชนะตัวเองได้ แต่คนที่พิเศษคือ คนที่เข้าคนแรก เพราะเขาเก่ง และคนที่เข้าสุดท้ายเพราะใจแกร่ง : )


วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

นี่แหล่ะผมในปีก่อน (2559)

เป็นอีกปีนึงที่มันเหมือนไม่มีอะไร แต่โครตจะมีอะไรเยอะแยะ เป็นปีที่รู้สึกว่าพยายามดิ้นรนตัวเองให้ชีวิตได้รับโอกาสมากที่สุด เจอจุดหักเหให้ต้องเลือกในชีวิตอะไรหลายๆอย่าง เป็นปีที่รู้สึกว่าเหนื่อยเหี้ยๆว่ะมึง บางครั้งจะทำอะไรก็ไม่ได้ดังใจเราเลย เป็นปีที่มีความสุขสุดๆ แต่ก็เป็นปีที่มีเรื่องแย่ๆเข้ามาสุดๆเช่นกัน ก็นั่นแหล่ะครับ สุดท้ายทุกอย่างคือประสบการณ์ที่ทำให้เราก้าวต่อไป


เริ่มต้นปีใหม่ที่ Marina Bay, Singapore



เริ่มวันแรกของปีในสิงคโปร์ กับทริป Backpacker 5 วัน เอาจริงๆที่คิดทริปนี้กะทันหันมาก ด้วยความที่ปีใหม่ไม่อยากกลับบ้าน คือกลับไปไม่รู้ทำอะไร โทรบอกเสด็จพ่อกับหม่อมไม่กลับน่ะ ไปเที่ยว เสด็จพ่อกับหม่อมแม่บอกเอาดิ ไปเลย เอาก็เอาว่ะ ไปก็ไปจะกลัวอะไร อังกฤษก็ได้แย่ขนาดนั้น คิดว่าเอาตัวรอดได้ แล้วเป็นครั้งแรกในชีวิตต่างประเทศเลยที่ไปตัวคนเดียว สนุกไปอีกแบบ สุดท้ายก็รอดกลับมาได้ ฮาาา  แล้วด้วยความที่ปีนี้ไปเที่ยวเยอะมาก เลยอยากจะทำบล็อคแนะนำที่เที่ยว ไปกำลังมาเลย แต่สุดท้ายก็แพ้ความขี้เกียจ เลยล้มเลิกไป แย่


ความพยายาม ทำให้เราประสบความสำเร็จ
สุดท้ายผมก็มีรางวัลที่นับว่าโครตภูมิใจครั้งนึงในชีวิต เพราะได้ลงแข่ง NSC มันเป็นงานประกวดระดับประเทศ (The National Software Contest 2016) ชนะได้ที่ 3 ถือป้ายขึ้นเครื่องกลับบ้านมาอย่างภูมิใจ มันเป็นความรู้สึกดีที่บอกมันถูก ภาพมันไกลมาจากในหัวเรามากอ่ะ ได้ให้สัมภาษณ์ลงนิยสารหลายๆเล่ม ได้ลงหนังสือพิมพ์ เราไม่ได้บอกพ่อแม่ด้วย แต่พ่อแม่เห็นข่าวก็ดีใจไปด้วย ถึงมันไม่ได้ที่ 1 แต่ (ที่ 1 ไม่มีใครได้) อย่างน้อยก็ได้ที่ 3 เว้ย  อยากจะตะโกนบอกโลกว่า กรูก็ทำได้ป่าวว่ะ จนตอนนี้ยังมีคนกด Like Fanpage คนทักมาถามอยู่ตลอด รู้สึกดีแบบบอกไม่ถูก





ก่อนที่ทุกคนเห็นผมชนะ มันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ผมเก็บประสบการณ์จากความผิดหวังมาสองครั้ง สองครั้งเต็มๆครับ ผมไปประกวดสองที่ก่อนหน้า แต่ก็แพ้กลับมา ไปไม่ถึงฝัน ถ้าถามผมตอนนั้นว่าท้อไหม ผมตอบได้เต็มปากว่าท้อมาก มันเหนื่อย มันเสียเวลา เสียเงิน และคงบอกกับตัวเองว่าพอแล้วมั้งชู แต่ก็พยายามคิดบวกว่า เรามาเจอกรรมการไม่ชอบงานเราแค่นั้นเอง ถ้ามีกรรมการคนอื่นก็อาจชอบก็ได้ เราอาจชนะก็ได้ ขอบคุณความคิดนี้ที่ทำให้สู้ต่อ จนได้ส่ง NSC ในที่สุด


ออกไปช่วยเหลือผู้อื่น ถ้าคิดว่าตัวเองไม่มีค่า
หลังจากผมทำ NBTC:ITU Voluntees มาสามปี ตอนกลับมาปีล่าสุด เหมือนมันมีอะไรบางอย่าง ผลักดันให้ทำอะไรสักอย่างที่สร้างความเปลี่ยนแปลงและช่วยเหลือคนอื่นๆใน ม.อ. แล้วช่วงนั้นมีไฟมาก มันเป็นเวลาที่ประจบเหมาะกับที่พี่ๆหน่วยส่งเสริมอาสาสมัคร ม.อ. ที่จะตั้ง กลุ่มอาสาสมัครขึ้นมาใน ม.อ. ผมก็เอาด้วยดิ มาช่วยตั้งกัน ร่วมมือลงแรงกัน สุดท้ายจากตอนนั้นจนถึงวันนี้มันเดินมาได้ 2 ปีแล้ว รู้สึกดีเลยทีเดียว


ตอนที่ผมเป็นประธานอยู่ ได้ทำแคมเปญหนึ่ง ชื่อว่า "ทุก(ข์)ชีวิต มีค่า" ได้ต้นแบบจาก สสส. คีย์หลักเลยคือ ให้ส่งเรื่องที่ตัวเองคิดว่าทุกข์ที่สุด มาชิงรางวัล โดยรางวัลที่ได้ก็จะให้คนเหล่านี้แหล่ะ ไปช่วยเหลือคนอื่น ให้ในสิ่งที่เขามี แต่คนอื่นขาด ผมเชื่อว่ามันทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีค่า และจุดไฟบางอย่างในตัวให้เดินต่อได้ และอยากอยู่บนโลกใบนี้ ผมวางแผนทำกับทีมงาน ปั๋นงานกันสองวัน ปล่อย VTR ทำ Website ประชาสัมพันธ์เรียบร้อย แต่มันก็ดันไปไม่ถึงฝั่ง เพราะขาดเงินทุนในการไปต่อ (เรื่องใหญ่มากจริงๆ) แต่เชื่อไหมครับ เรื่องสั้นที่เพื่อนๆใน ม.อ. ส่งเข้ามาเพื่อรับรางวัล ผมอ่านแล้วน้ำตาไหลเลย ผมอินจนผมรู้สึกแย่อย่างบอกไม่ถูก ไม่คิดว่าเราคิดว่าแย่แล้วอ่ะ คนอื่นยังแย่กว่าเราอีก บางคนเขียนมาแต่ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวมา ผมคิดว่าเขาคงแค่อยากระบายมันออกมาจริงๆ  ขอโทษที่ผมทำให้มันสำเร็จไม่ได้ ขอโทษจริงๆ





ผลกรรม(การกระทำ)?
อาจารย์คนนึงที่ผมเคารพมาก เคยบอกไว้ว่า "อาจารย์รู้ว่าคุณมีดีอะไร คุณรู้ว่าคุณมีดีอะไร แต่คุณต้องขายตัวเองให้เป็น คุณอยู่เฉยๆไม่มีใครรู้หลอกว่าคุณเป็นยังไง คุณเก่งยังไง คุณดียังไง"
เลยตัดสินใจ เอาว่ะ ลองขายตัวเองดูบ้าง ผมยังพูดกับพี่ๆเจ้าหน้าที่เลย จะเขียนขายตัวเองยังไงเนี่ย แม่งไม่เคยซะด้วย ฮาาา แต่ก็เขียนไป เลือกส่งด้านวิชาการไป ด้วยอะไรหลายๆอย่าง มหาลัยประเมินแล้วจากที่เขียนไปให้ด้านบำเพ็ญประโยชน์มาแทน  แป่ววว แต่ผมก็ดีใจครับ ดีใจมากด้วย แค่ได้ก็ดีใจแล้วไม่ว่าด้านไหน รู้สึกเป็นเกียรติในชีวิตครั้งนึงแล้ว ต้องขอบคุณภาควิชาและคณะที่สนับสนุนผมทุกโครงการที่ผ่านมา และขอบคุณพี่ๆหน่วยส่งเสริมอาสาสมัคร ม.อ. อีกครั้งครับ




เริ่มทำงานจริงๆ สักที
มันอยู่ในช่วงตัดสินใจอะไรหลายอย่างมากน่ะ ตอนแรกยังรู้สึกว่า ทำดีหรือเปล่า เอาก็เอาว่ะ ประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากที่ไหน สุดท้ายก็มาได้ทำงานกับ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) เป็นองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ

เรื่องที่ดีที่สุดในชีวิต นอกจากที่ทำงานมีบอสที่ดี เพื่อนร่วมงานที่ดีโครตๆ อยู่กันแบบครอบครัวแล้ว เล่าสามวันคงไม่จบ ที่สำคัญคือ มันเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตที่ให้เราถีบภาษาอังกฤษตัวเองขึ้นเรื่อยๆ มันทำให้คนพบว่า ภาษานี่แหล่ะสำคัญมาก มันคือใบเบิกทางในชีวิตที่จำเป็นโครตๆ ถ้าอยากไปไกล ภาษาต้องดีกว่านี้ ในทุกวันที่ทำงาน เจอแต่เกาหลี ฝรั่ง อินโดนีเซีย บลาๆ มันเลยหนีไปไหนไม่รอดแล้ว ถึงจุดนั้นมันต้องสู้แล้วกับภาษา ทำไงคุยกับเพื่อนร่วมงานรู้เรื่อง ทีมรู้เรื่อง

 

พอทำงานจริงๆ มันต่างกับฝึกงาน ต่างกับงานที่เคยทำมา เราทำตัวสุขนิยมเอาแต่ใจไม่ได้แล้ว ต้องรู้จักวางตัวกับผู้ใหญ่ ต้องปรับตัวมากขึ้น เป็นคนรับผิดชอบมากๆ และต้องตรงต่อเวลาโครตๆ จำได้จนทุกวันนี้คือ ต้องไปทำงานกับเกาหลีงานนึง ผมไปสาย 10 นาที เกาหลีเขาแท็กซี่ไปเองเลย ไม่รถตู้ไปพร้อมกัน นับตั้งแต่นั้นมันสอนผมมากจริงๆ ถ้าบอสรู้คงโดนว่าแน่ๆ





Work and travel in Busan, Korea

ได้โอกาสไปปูซาน ประเทศเกาหลี ที่ขึ้นชื่อว่า Smart City top of the world ตอนแรกที่รู้ว่าต้องไป นี่ปฏิเสธบอสไม่อยากไปอย่างเดียว เพราะสิ่งที่ผมกลัวที่สุดคือ ภาษา ไม่อยากไปโชว์โง่ใส่ปี๊บ ก็บอกเขาไปตรงๆ บอสไม่ยอมบอกไปเถอะ อยากพัฒนาคนของเราเองด้วย ก็เลยต้องไป TT แต่ก่อนไปบอกเกาหลีที่ไปด้วย ที่เป็นคนจัดงาน ว่า ไอไม่ขอพูดบนเวทีน่ะ ไม่ไหว เขาก็โอเคๆ พอเอาเข้าจริง เผลอไปสบตาบอส บอสเดินเข้ามาพูดว่า ไหนว่ะชู ไม่ขึ้นพูด เรามาไกลน่ะเว้ย มาทำแค่นี้ได้ไง ถ้าไม่ขึ้นพูด ทำสรุปรายงานทั้งหมดน่ะ นั่นไง เหมือนโลกกำลังจะแตก จังหวะนั้นก็เลยต้องพูด ไปขอคิวพูดกลับมา ทำเขาวุ่นวายไปหมด นั่งปั๋น Slide กับมือสั่น เตรียมพูด ก่อนขึ้นเวลา มีคำนึงจากจินนี่กับเตฮา มันเป็นกำลังใจที่ดีก่อนขึ้นเวที เลยชอบมาก I believe you Choo, I believe you can do it สุดท้ายก็ผ่านมาได้ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด





วิ่งแข่งกับตัวเอง
รู้สึกดีอย่างบอกไม่ถูก ซ้อมวิ่งมาเกือบเดือน สุดท้ายเราก็ทำมันได้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้สักที 
- Running Can Change your life




CoE 22 Meeting
รู้สึกดีที่ได้เจอเพื่อนในรุ่นกันอีกครั้ง หลังจากห่างหายไปนาน ได้มาอัพเดทชีวิตกัน พูดคุยกัน เหมือนตอนเรียนด้วยกันเลย




HBD
วัน Public เป็นวันเกิดพอดี ขอมอบของขวัญชิ้นนี้ให้ตัวเองหน่อย
#FirstTimeInJapan




เป้าหมายในปี 2560 หล่ะ

อะไรที่ไม่จบก็ต้องพยายามให้มันจบ
Never give up

...

สอบ toeic 550 up
น้ำหนักต่ำกว่า 70 สักที

...

แต่ ดูจากผ่านๆมา ทำไม่ได้สักข้อ สายสุขนิยมแบบเราชอบเอาแต่ใจ
แต่ก็เอาเถอะครับ ชีวิตคนเราอยู่ได้ด้วยความหวัง
ไม่ว่าจะเรื่องอะไร โดยเฉพาะเรื่องความรัก

หรือว่ามันไม่จริง ?


: )

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ความพิการไม่สามารถปิดกั้นการเข้าถึงเทคโนโลยีได้ โลกกว้างเป็นของทุกคนอย่างเท่าเทียม

        เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ผมได้รับโอกาสติดตามไปเก็บภาพ Dr.Hyonkon KIM, the Vice President of National Information and Society Agency (NIA) Republic of Korea. เยี่ยมชมศูนย์อินเตอร์เน็ต USO-NET ของ กสทช. ณ โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ฯ ในนามของ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศประจำภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิค (ที่ทำงานหนูเอง 55555)
         ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่เปิดโลกผมไปในตัวเลยน่ะ คือเอาตรงๆไม่เคยคิดมาก่อนว่าคนตาบอดเขาจะใช้ได้ จังหวะนั้นตอนลงจากรถ คิดแบบโง่ๆเลย ตามองไม่เห็นจะเล่นได้ไงว่ะ แว๊บแรกที่ครูพาเข้าไปในห้องคอม เหยดดดดเขร้ นี่มันไม่ธรรมดาแล้วว่ะ นี่เล่นได้แบบปกติด้วย คุณครูบอกว่า เด็กที่จะเล่นได้ ต้องฝึกหัดพิมพ์ดีดด้วยความเคยชินมาก่อน และขณะเล่นจะมี Software อ่านเสียงตลอดเวลา เลยใช้งานได้ จากนั้นครูก็เปิดงานที่น้องๆทำไว้ เปิดคลิปที่น้องๆถ่ายเอง ตัดต่อเอง ใส่เอฟเฟ็ค อัพขึ้น youtube เอง กราบบบบบบบ ยอมมมมมม
         ความพิการไม่สามารถปิดกั้นการเข้าถึงเทคโนโลยีได้ โลกกว้างเป็นของทุกคนอย่างเท่าเทียม

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

รู้สึกว่าพยายามและตั้งใจขนาดไหน แต่มันก็ออกมาไม่คุ้มค่ากับความเหนื่อยไหมครับ?

          นั่นแหล่ะครับผมกำลังรู้สึกแบบนี้ ตอนนี้ก็เรียนอยู่ปีสูงแล้ว รู้สึกว่าผมเอาชีวิตมาทิ้งกับการศึกษาเยอะไปแล้ว มันถ่วงจนผมพลาดที่จะทำความฝันดีๆ โอกาศดีๆ งานดีๆที่เข้ามาเยอะ แต่ผมก็พยายามมองมันในแง่ดี อย่างน้อยมันก็ช่วยขยายเวลาชีวิตนักศึกษาให้ทำความฝันบางอย่างที่เราอยากทำให้สำเร็จได้

         กลับมาเรื่องเรียน บางครั้ง ผมรู้สึกว่า ผมพยายามตั้งใจเรียน ตั้งใจอ่านหนังสือแค่ไหนก็ยังทำคะแนนได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งๆที่ผมพยามกับมันแล้วน่ะ พยายามมากด้วย มันไม่คุ้มค่ากับความเหนื่อยครับ ในภาควิชาก็มักจะมีเพื่อนที่เก่งมากๆทุกวิชา ที่เรารู้สึกว่าต่อให้เก่งขนาดไหนก็คงแพ้เขาอยู่ดี บางครั้งก็แอบน้อยใจสมองตัวเองบ้างที่ทำไม่ได้อย่างเขา หลายๆคนก็น่าจะเป็นเหมือนกัน เหนื่อยบ้าง ท้อบ้าง แต่ก็ต้องตั้งใจต่อไปครับ ...

      มาบ่นสั้นๆแค่นี้ หลังจากห่างหายไปนานพอสมควร ...

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เปิดหมวก #CoEทำดีเพื่อสังคม

              เคยไหมครับ? เวลาเดินไปตลาดหรือที่ไหนที่เราไปทำกิจกรรมคนเยอะๆ งานสำคัญๆ มักจะมี ไอพวกแหกปากร้องเพลงดังๆ มายืนถือกล่องบริจาคเงินตลอด ที่มักเรียกตังเองว่า "เปิดหมวก"

ผมคิดมาตลอดจนถึงปี 3 ว่า ลำคาญพวกแมร่งนี้ชิบหายเลย อะไรสักที คือบางทีกรูไม่อยากให้ไง ไม่ได้อยากฟังเพลงเมิงร้องเลย ร้องก็ไม่ใช่เพราะอะไรมากมาย พอเดินผ่านก็เอากล่องมาจ่อๆต้องให้มันอีก แถมถ้ามีคนรู้จักก็ถูกให้ไปเยอะอีก เดี๋ยวเสียหน้า เดี๋ยวให้น้อยแล้วมันขอเพิ่มก็ต้องให้เพิ่มไปอีก มีทางเดียวคือเดินไปทางอื่น ไม่ก็เดินห่างๆ ให้พ้นๆไป

ซึ่งในระหว่างนั้นก็มีทั้งเพื่อนทั้งรุ่นน้องที่ทำค่ายอาสาฯ ชวนไปทำกิจกรรมแบบนี้ตลอด (คงเห็นว่าผมเป็นเด็กสายค่ายเหมือนกัน) ผมก็บอกไม่เอาโว้ย ไปทำอะไรก็ไม่รู้ทำไมให้ลำบาก ขอสปอนเซอร์ไปดิ เสียเวลาชีวิตชิบหาย จนผมถูกอาร์ม (เพื่อนในรุ่น) ว่าตลอดว่า "อันนี้ค่ายอาสาฯน่ะครับชู เพราะมึงมันทำแต่ค่ายคนรวยไง มึงไม่ทำค่ายจนๆแบบกูมึงไม่รู้หลอก" เหี้ยยยอาร์มมม คำพูดมึงมันจี๊ดไปในใจจนจำได้ถึงทุกวันนี้

ตลอดเวลาอยู่มหาลัยมาผมทำค่ายเยอะน่ะ ปีนึงไม่ต่ำกว่า 2 ค่าย หลักๆก็คือ Robotic Camp CoE PSU กับ ค่ายของ สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลเมืองคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่ผมเป็นประธานอยู่ ก็ทำมาเรื่อยๆทุกๆปี ส่วนใหญ่จะเป็นค่ายทางวิชาการและสิ่งแวดล้อม เลยค่อนข้างที่จะหาผู้สนับสนุนได้ง่าย ถ้าค่ายในนามภาคฯ ภาคฯก็จะออกส่วนใหญ่ให้และส่วนหนึ่งเก็บจากผู้เข้าค่าย หรือหาปอนเซอร์ร้านใหญ่ๆมาเพิ่มอีก (เช่นใน COE-COMCAMP22 ก็สปอนเซอร์จากหาดทิพย์แล้วก็เต่าเพชรคอมพิวเตอร์ ก็ได้รางวัลมาแจกเด็กเยอะมาก) ก็ทำให้งบพอที่จะจัด หรือค่ายของทางสภาเด็กฯเอง เทศบาลก็จะออกค่าใช้จ่ายให้ ทั้งหมด เอกชนพร้อมเข้าหา ก็สบายเรื่องงบ

จนพอมาอยู่ปี 4 ไฟล์บังคับต้องมาทำค่ายอาสาพัฒนาค่ายหนึ่ง (ซึ่งไม่เคยลองทำมาก่อน) ที่เรียกว่า "ค่าย #CoEทำดีเพื่อสังคม" เป็นค่ายที่พวกเรานักศึกษาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จัดต่อๆกันมา จากรุ่นสุ่รุ่น โดยจะออกไปทำประโยชน์ให้สังคมอะไรก็ได้ อยู่ที่พวกเราวางแผน จนมาถึงรุ่นผมก็จัดการมาประชุมร่วมกัน ว่าจะไปพัฒนาและทำกิจกรรมในโรงเรียน โดยหัวใจที่สำคัญคือ ต้องหางบให้ได้มากที่สุดเพื่อซื้อของให้น้องๆและนำเงินมาซื้ออุปกรณ์พัฒนาโรงเรียน ยิ่งเราได้เงินมาเยอะเท่าไหร่ ก็จะได้ซื้อของและพัฒนาโรงเรียนให้ดีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

ก็มาถึงประชุมเรื่อยๆเรื่องงบ ผมก็ยังสนับสนุนตามทางเดิม คือของบประมาณจากหน่วยงานหรือเอกชน ง่ายไม่ต้อเหนื่อย จนมีคนเสนอในที่ประชุมว่า มีกิจกรรมเปิดหมวกหาเงินดีไหม? ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่าควรมี น่าจะได้งบมาเพิ่มบ้าง เอาก็เอาว่ะ จากนั้นวาดแผนกัน ทั้งสถานที่และวันที่จะไป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ จะไปเปิดหมวกรับบริจาคกันในงานเกษตร ม.อ. ที่จะมาถึงพอดี ฝ่ายประสานงานก็รับเรื่องทำหนังสือส่งไปคณะเกษตร ว่าจะไปขอรับบริจาคในงานนี้

พอวันจริงมาถึง หน้าที่ผมก็ออกแบบป้ายและทำป้ายติดกล่องรับบริจาคอะไรเรียบร้อย ก็เอามาให้พวกรับหน้าที่เปิดหมวกไป เพื่อนก็เลยชวนๆไปด้วย เอาจริงๆผมไม่ได้อยู่หน้าที่นี้หลอก แต่ก็เอาว่ะ ไปก็ไป ไม่มีอะไรค่อยกลับ เดี๋ยวไม่ไปช่วย โดนเบียน โดนดราม่าอีก รุ่นนี้ตัวแม่ทั้งนั้น ฮาาา

พอไปถึง ก็เริ่มจัดการเปิดหมวกร้องเพลง เพื่อนก็ช่วยๆกันพยายามทำให้ดีที่สุด ไม่เปิดลำโพงดังจนรบกวนร้านข้างๆที่ทำมาหากิน ไม่ถือกล่องจ่อคนเดินผ่านไปมาเหมือนบังคับว่าเขาต้องให้ ใครไม่ให้ให้เราก็ยิ้มให้เสมอ เพื่อนๆใครเดินผ่านก็ทักเป็นธรรมเนียม แต่ก็ไม่ใช่บอกว่ามึงต้องให้น่ะ ใจเขาใจเรา นึกถึงเวลาเราโดน

พอค่ำๆงาน ACM แข่งเสร็จพอดี ก็แบ่งคนกลับภาคไปขนลูกโป่ง ACM มาแจกเด็กๆที่มาบริจาค กว่าจะเดินมาถึงที่จุดเราเปิดหมวก ระหว่างทางเด็กก็มาขอลูกโป่งไปเยอะล่ะ ฮาา พอเอามาตั้งไว้ก็ได้ผลดีแฮะ นอกจากเป็นพร๊อบเก๋ๆแล้ว เด็กๆเห็นแล้วอยากได้ก็ชี้ๆ พ่อแม่ก็มาบริจาคเงินเอาลุกโป่งไปให้ลุกถือน่ารักๆกัน ผมชอบภาพที่พ่อแม่ให้เงินลูกมาบริจาคมากนะ ผมว่าเป็นอะไรที่แมร่งโครตดีอ่ะ 

จนมาถึงจุดๆนึง จุดที่ยืนถือกล่องจนเหนื่อยล่ะ จุดที่คนอื่นก็เริ่มล้า มันแอบคิดในใจ ว่าน้องโรงเรียนที่เราไป เขาจะรู้ไหมว่าพวกพี่ๆ กว่าจะได้ตังค์แต่ล่ะบาทไปช่วยน้องมันลำบากแค่ไหน เขาจะรู้ไหมว่า ไอที่พี่เหนื่อยๆแบบนี้ พี่ทำเพื่อน้องน่ะเว้ย และเขาจะรู้ไหม ว่าคนมีน้ำใจที่จะช่วยเหลือเขามันมากแค่ไหน ทุกคนมาช่วยด้วยใจจริงๆ

ป้าขายน้ำผึ้งมะนาวฝั่งตรงข้าม แกใจดีมากตักใส่ถังน้ำใหญ่มาให้ตลอด เยื้องกันร้านแคปหมูก็ให้แค๊ปหมูมาทานอีกระหว่างเปิดหมวก เราก็เปิดหมวกไป ประชาสัมพันธ์ให้ร้านไปอีก ก็ฮากันไป แถมตอนจบก็เดินเรี่ยไรเงินจากแม่ค้าในงานก็ได้มาเยอะอีก ผลงานจากที่ทุกคนเหนื่อยกันมา ได้เงินมา 27000฿ มันคุ้มค่าจริงๆ ไม่ใช่เฉพาะตัวเงิน แต่ทุกๆอย่างที่เราได้มาวันนี้

จนตอนนี้ผมได้คำตอบล่ะครับ ว่าไอที่ไปแหกๆปากร้องเพลง ที่ในสายตาคนนิสัยแบบผมคิดว่า ไอพวกสร้างความรำคาญ ทำไปเพื่ออะไร ยอมเหนื่อยไปเพื่ออะไร เราเสียอะไรไปและได้อะไรกลับมาบ้าง หลังๆมา ถ้าเจอพวกเปิดหมวก ภาพตัวเองแมร่งมันลอยมาทุกที ก็พยายามบริจาคให้ไปตามกำลังตัวเองเท่าที่จะให้ได้ 5 บาท 10 บาท บ้างก็ว่ากันไป ไม่ได้รวยแต่ก็อยากให้บ้าง

จนตอนนี้อยากบอกอีกอาร์มว่า กูรู้แล้วความรู้สึกนี้มันเป็นไง ถ้ามีโอกาสจะพยายามลดค่ายคนรวย หันมาทำค่ายคนจนมากขึ้น โอเคน่ะ อย่าด่ากูอีก กูเจ็บ 555555

จากประสบการณ์เด็กหน้าคอมทำค่ายอาสาครั้งแรก




วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

ASEAN+3 Youth Social Contributors for Caring and Sharing Communit



             หลังจากได้ไปร่วม การประชุมเชิงปฏิบัติการเยาวชนอาเซียน+3 “จิตอาสาเพื่อชุมชนแห่งการดูแลและเอื้ออาทร” ระหว่างวันที่ 17-21 กันยายน 2558 ณ โรงแรมรัชดาซิตี้ กรุงเทพมหานคร ก็กลับมาเขียนสักนิดก่อนที่จะลืม การประชุมครั้งนี้น่ะครับเป็นการประชุมปฏิบัติการของตัวแทนใน ASEAN+3 โดย 10 ประเทศในอาเซียนก็จะมีไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน และเพิ่มอีก 3 ประเทศคือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยตัวแทนจากไทยที่เห็นๆก็จะมาจาก สภาเด็กและเยาวชนฯ แล้วก็นักศึกษาจากมหาลัยฯต่างๆ ทั่วประเทศครับ ซึ่งมาร่วมพูดคุยแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับจิตอาสาฯ แล้วก็ได้มีโอกาสทัศนศึกษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รวมถึงทำกิจกรรมบำเพ็ฐประโยชน์ที่สถานสงเคราะห์ ใน อ.ปากเกร็ดด้วย เป็นอีกงานที่ English all the time ก็สนุกดี ฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ปนๆกันไป


สักนิด คนยังไม่มา ><

           กิจกรรมสองวันแรกจะเน้น ปาฐกถา บรรยาย แล้วก็ discuss กันในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมอาเซี่ยน ผมไล่เรื่อยๆไปเลยล่ะกันครับ

วันแรก 17 กันยายน 2558
อภิปราย "อนาคต.. กับความท้าทาย เมื่อเป็นสังคมเดียวกัน"
อภิปราย "อนาคต.. กับความท้าทาย เมื่อเป็นสังคมเดียวกัน"
1. ดร.เอราวัณ ทับพลี นายยกสมาคมนักธุรกิจเอสเอมอีรุ่นใหม่
2. ดร.สรรเสริญ เลาหสถิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
3. ดร.วัลภา วิศวสุขมงคล มูลลิธิสายใยแห่งความหวัง
4. นายศิริพงษ์ ศรีอาค๊ะ ผู้แทนกองอาเซียน สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ความฝัน
อภิปรายกลุ่มย่อย ."ค้นหาอนาคตกับความท้าทาย เพื่อสร้างสรรค์ประชาคมสังคมและวัฒนธณรมอาเซี่ยน"
โดยพูดคุยกันในประเด็น
1. การพัฒนามนุษย์
2. การลดช่องว่างการพัฒนา
3. คุ้มครองและสวัสดิการสังคม
4. ความยุติธรรมและสิทธิ
5. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
6. การสร้างอัตลักษณ์อาเซี่ยน


วันที่สอง 18 กันยายน 2558
ASEAN Single Community 2015 
บรรยาย เยาวชนไทยพร้อมเข้าสู่อาเซี่ยน & การใช้สื่อสร้างสรรค์
โดย นายอโณทัย อุดมศิลป์ ผ.อ. สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

พิธีเปิด โดย อธิบดีกรมกิจการเด็ก

พิธีเปิดเสร็จเรียบร้อยก็เป็นการให้ชมนิทรรศการอาเซี่ยน จากประเทศต่างๆ ก็คือผู้แทนเยาวชนที่มานั่นแหล่ะครับ พกของมานำเสนอด้วย ของไทยมานำเสนอเกี่ยวกับ Innovation ซึ่งผมว่าไม่เกี่ยวกับงานสักเท่าไหร่ แต่น้องๆน่ารัก มาจาก รร.ปิยะมหาราชาลัย จ.นครพนม ในโครงการเคลื่อนโลกไปด้วยกัน Move World Together ที่มานำเสนอคือเป็น หวด นึ่งข้าวเหนียว ดัดแปลงให้มีตรงกลางขึ้นมากระจายความร้อนทำให้ใช้พลังน้อยลง

กัมพูชา

เวียดนาม

เวียดนาม

จีน ด้านขวานี่ Zhuojun winner China got talent 2011
เมียนมาร์
อินโดนีเซีย
จากนั้นผู้แทนเยาวชนอาเซียน+3 ออกมานำเสนอผลงาสนด้านจิตอาสาในประเทศของตัวเอง





จากนั้นจะเป็นงานอาเซี่ยนไนท์ ผมไม่ได้ถ่ายรูปมาน่ะ เพราะว่าต้องขึ้นแสดงด้วยเลยไม่พกกล้องไป ก็คือให้ทุกๆประเทศแสดงการแสดงสั้นๆของแต่ล่ะชาติตัวเอง ร้องเพลงบ้าง เต้นบ้างก็ว่ากันไป ส่วนไทยเนื่องจากคนเยอะเลยแยกเป็นการแสดง 4 ชุด ผมก็ได้ชุดทางใต้ไปตามล่ะเบียบ ก็ออกแสดงไปรำพัด ครับ

สรุป 2 วันแรก ประเด็นที่ผมสนใจ
1. หลายๆประเทศเรียนภาษาไทยแล้ว ตัวแทนบางประเทศที่มานี่ พูดไทยได้น่ะ ผมขึ้นลิฟท์โรงแรมเผลอพูดกับเพื่อนไป "ฟิลิปปินคนนี้พูดไทยได้นี่หว่า" แล้วมีฟิลิปปินส์ในลิฟท์พอดี -0- บอกว่า "ใช่พูดกันได้" เขาถามกลับมาว่า แล้วคนไทยพูดฟิลิปปินส์ได้ไหม อึ้งสิครับจะรออะไร แค่ English ก็จะตายล่ะ 5555
2. AEC ก็คือการตกลงหาประผลประโยชน์ของคนชั้นบน ที่คนชั้นล่างอย่างเราปฏิเสธไม่ได้ มันเหมือนการแอดมิชชั่น คุณจะพร้อมไม่พร้อมก็ต้องแข่งแล้ว มาบอกว่าไม่พร้อมไม่ได้ ยกเว้นว่าจะถอนตัว ซึ่งมันไม่ได้แล้ว ทุกอย่างดำเนินการไปหมดแล้ว
3. มีเพื่อนจากไทยถามว่า จริงๆไทยพร้อมหรือยังที่จะเข้า AEC ชอบคำตอบของ ผ.อ. ศูนย์อาเซี่ยนศึกษา ม.ราชภัฐเพชรบุรี บอกว่า จะเอาตำตอบไปทำไม ผมบอกแล้วจะมีอะไรเกิดขึ้นไหม ไม่ต้องไปสนใจ โฟกัสอย่างเดียวคือเราต้องทำยังไงให้สู้เขาได้ มีผลกระทบอะไรต่อเราไหม เราลำบากรึเปล่า มองที่ตัวเรา
4.ความท้าทาย แตกต่าง>ปรับตัว>ยอมรับ>ศึกษา คนฉลาดจะตักตวงจากศัตรู ได้มากกว่าคนโง่ที่ฉกฉวยจากคนฉลาด
5.ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มตัว (วัดจากประชากรมากกว่าร้อยล่ะ 7% ของอายุ 65 ไทยอยู่ที่ 9% แล้ว)
5.ผู้แทนจากจีน บอกว่า เวียดนาม ของจีน เริ่มขายของเป็นภาษาไทยแล้ว
6.สื่อหลักของแต่ล่ะประเทศเกือบทุกประเทศโปรโมท AEC ผ่าน TV (Work together to promote) แต่ไม่ได้ใช้ช่วงเวลา prime time เลย (กัมพูชา TV ,Media Cope สิงคโปร, อินโดนีเซีย TV, บลาๆ) ผ.อ.วิชาการสื่อสารธาณะ ThaiPBS บอกว่า มันต้องเจาะมากกว่านี้ เหมือน GenY เขาไม่ดู TV แล้ว เขาเสพข่าวจาก Social Media อย่างเดียว ต้องทำไงถึงเขาจะได้ทราบข้อมูลเหล่านี้
7. ทุกคนกลัวการแข่งขัน ทุกคนกลัวการตกงาน 7 อาชีพ ที่จะทำงานได้อย่างเสรีในประชาคมอาเซียน มีวิศวกร พยาบาล สถาปนิก สำรวจ บัญชี ทันตแพทย์และแพทย์
8. ต้องเก่งอังกฤษ (Working Language) กล้าคิด กล้าตัดสินใจและมองไกล มีวิสัยทัศน์
9. มีเพื่อนถามว่า ทำไมเสาประชมคมและสังคมไม่พูดถึงเลย ทั้งๆที่สำคัญไม่แพ้กันน่ะ ผู้แทนกองอาเซี่ยน สำนักปลัดฯ บอกว่า ใครๆก็ชอบมองเรื่องเงินเรื่องทองเป็นหลักและการประชาสัมพันธ์เสานี้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่เห็นผลแน่นอน ตอนนี้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวกับสังคมเริ่มปรับตัวเข้าหากันจากแต่ก่อนทำงานแยกกัน ตอนนี้มีการเริ่มประชุมทำงานไปในทิศเดียวกัน แต่เชื่อว่าถ้าสองเสาแรกมันดียังไงก็จะช่วยเสาที่ 3 ให้ดีได้ ( 3 เสาหลักอาเซียน ประกอบด้วย,ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน,ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน)
10. เพื่อนถามว่า เราจะรวม AEC ได้จริงเหรอ ในเมื่อยังมีความขัดแย้งกันอยู่? ผู้แทนกองอาเซี่ยน สำนักปลัดฯ บอกว่า ทุกประเทศก็ต้องมาหารือคุยกัน วางจุดที่ลงตัวที่สุด เชื่อยังไงก็รวมกันได้
11. เพื่อนถามว่า ถ้ารวมแล้ว เราจะสู้กลุ่มที่รวมกัน เช่น EU ได้หรือเปล่า ผู้แทนกองอาเซี่ยน สำนักปลัดฯ บอกว่า  ตอนนี้ไม่ได้ แต่อนาคตคตต้องได้ ตอนนี้เราเหมือนอยู่ระดับ 1 แต่เขาไประดับ 10 จะให้มีนามสกุลเงินเดียวกันหรืออะไร ต้องใช้เวลา
12. เพื่อนถามว่า เด็กที่ทำอาสาสมัคร หรือเยาวชนที่คิดจะสร้างการเปลี่ยนแปลง ทำแทบตาย แต่ถ้าผู้ใหญ่ยังไม่ปรับตามก็ทำไม่ได้ ตัวแทนจากมูลนิธิสายใยแห่งความหวังบอกว่า ก็พยายามพูดคุยอยู่ มีหลายๆหลักสูตรที่ไปสอนบอกกล่าวกัน (ผู้รู้สึกตอบไม่เคียร์และไม่ตรงคำถาม)
13. มีประเด็นที่ได้ discuss กับเพื่อนในไทย
- การพัฒนามนุษย์ ทุกคนโยนไปที่การศึกษา บอกว่ามันห่วย แต่ไม่ช่วยกันเลย ลูกกลับบ้านมา มีไหมพ่อแม่ช่วยสอน? ให้แต่ไปเรียนพิเศษ อ้างไม่มีเวลา
- การลดช่องว่างการพัฒนา พัฒนาไม่ทั่วถึง กระจุกแต่หัวเมืองหลัก
- คุ้มครองและสวัสดิการสังคม ไม่รู้สวัสดิการของตัวเองที่ควรได้รับ
- ความยุติธรรมและสิทธิ เพื่อนยกตัวอย่างประเด็นชนคนตายกับยายเก็บเห็ด ผมไม่ค่อยเห็นด้วย เนื่องจากตัวบทกฏหมายและความแรงต่างกัน
- ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม จำกัดคน ปล่อยให้สิ่งแวดล้อมฟื้นฟูบ้าง
- การสร้างอัตลักษณ์อาเซี่ยน การไหว้ ยิ้ม


วันที่สาม 19 กันยายน 2558
กิจกรรมช่วงเช้าจะออกเดินทางไปอิมแพ็คเมืองทองธานี เพื่อร่วมกิจกรรมและเยี่ยมชมผลงานมหกรรมผลผลิตของเด็กและเยาวชน "30 ปี วันเยาวชน ผลิตดอออกผลจากรุ่นสู่รุ่น" ณ แกรนด์ จูลบิลลี่ ฮอล อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ในงานไม่ค่อยมีอะไรมาก ก่อนที่จะพิธีเปิด ก็นั่งดูสภาเด็กรับรางวัล ถามใจตัวเอง จะให้มานั่งดูเป็นพร๊อบเพื่ออะไรเนี่ย Orz ก็เลยเดินออกมาเดินดูตามซุ้มต่างๆเผื่อมีอะไรน่าสนใจบ้าง ในงานก็มีสาธิตทำขนม ให้ลองทำได้น่ะ ระบายสีโอ่ง นวด แสดงศิลปวัฒนธรรมไทย  ก่อนกลับเข้าไปดูพิธีเปิด แล้วก็ชมการแสดงจากจีน ปิดท้ายด้วยคอนเสิร์ต








แล้วก็ช่วงบ่ายพาไปกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม โดยผมได้ไปอยู่กลุ่มที่ไปสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี ก็เข้าไปฟังว่า ที่นี่คามเป็นมาเป็นยังไง เป้าหมายหรือคนที่เข้ามาอยู่ที่นี่ กฏหมายและความคุ้มครอง รวมถึงสิทธิและสวัสดิการที่ได้รับมีอะไรบ้าง แล้วก็ไปร่วมทำกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ



ตามจริงผมมีคำถามค้างคาในใจกับที่คุยๆกัน แต่เวลาไม่พอให้ถามเพราะต้องทำกิจกรรมต่อคือ มีเพื่อนถามว่า คนที่ส่งตัวกลับมีการตรวจสอบอะไรยังไงไหม ? เจ้าหน้าที่บอกว่า มีระบบลงไปตรวจสอบว่า คนที่ส่งตัวกลับเป็นยังไงบ้าง โดยหน่วยงานในพื้นที่ ที่ส่งตัวกลับไปจะเป็นคนดูแล ผมก็เลยสงสัยต่อว่า ถ้าส่งตัวกลับไปแล้ว เขากลับไปอยู่แบบเดิมอีกล่ะซ้ำๆเรื่อยๆ เข้าลูปเดิมตลอด ทางสถานฯจะมีมาตรการอะไรต่อจากนั้น ...  อีกอย่างนึงคือเห็นด้วยกับเพื่อนที่ถามในห้องประชุม คือ สุมมุติคนนั้นเนี่ยอยากไปทำ เพราะ เขาคิดว่ามันคืองานสบาย นั่งๆก็ได้ตังค์แล้ว แต่เขาพร้อมทุกอย่างไง จะทำยังไงกับเขา ผมรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ตอบไม่ค่อยเคียร์แฮะ ไปโยงถึงต้องมาช่วยกันว่าต้องไม่ให้ตังค์น่ะเพราะ ถือสนับสนุน.. บลาๆ ...อันนี้เข้าใจน่ะ แต่ไม่ใช่ Point ที่ถาม ก็เลยมาพูดคุยกับเพื่อนในห้อง เพื่อนบอกว่ามันมีระบบคัดกรองคนเข้ามา ไม่น่าจะเข้าเงื่อนไขอะไร ก็ส่งตัวกลับ ผมก็บอกว่า แล้วถ้าเข้ากลับมาทำอีกล่ะ ทำไง ก็หาคำตอบกันไมไ่ด้




กำลังฝึกอาชีพกัน
ก็เราไปทำกิจกรรมกันง่ายๆครับ คือ ร้องเพลงเต้นสนุกๆกัน จากนั้นก็แบ่งเป็นกลุ่มกัน แล้วให้สมาชิกในแต่ล่ะกลุ่มวาดรูปความฝันของตัวเองว่าต้องการอะไรบ้าง แล้วก็ติดรวมกันลงไปในกระดาษฟิวเจอร์บอร์ดและปิดท้ายด้วยแจกไอติม

ผมเจอเฟลอย่างแรก ก็ร่วมๆสนุกไป เต้นๆ ไปอยู่ใกล้ยายคนนึง แกก็มาจิ้มเอวผม ผมก็ขมวดคิ้วคิดในใจว่าทำไมทำงี้เนี่ย ก็ถามไปว่า มีอะไรเหรอครับยาย ก็ฟังแกพูดไม่รู้เรื่องเพราะแกพูดเบาบวกกับเพลงมันดัง มาก แกก็จิ้มๆต่อ พอเพลงหยุดได้รู้ว่าแกจะเอาตังค์ ผมก็บอกว่าไม่มีตังค์ ก็ให้แกดูกระเป๋าเลยว่าไม่เอากระเป๋าตังค์มา คือไม่เอามาจริงๆ แกก็เงียบไป

พอตอนทำกิจกรรมก็มีน้องคนนึงไม่ทำ ผมสงสัยเลยถามเพื่อน เพื่อนบอกว่า น้องคนนี้อยากตาย เหยดดดด เชี้ยแล้วไงงงง ผมสตั้นไป 10 วิเลยครับผมม แต่เพื่อนคนนั้นก็เลยเข้าไปคุย นั่งคุยอยู่นานมาก เห็นน้องน้องไห้ด้วย สุดท้ายน้องก็โอเค มาร่วมกิจกรรมกัน ผมก็สบายใจไปหน่อย

แล้วมีอีกหลายๆอย่างมากที่คิดแต่ไม่ขอพูดดีกว่า หาอ่านได้ตาม Pantip ก็เหมือนตามนั้นจริงๆ  ...










วันที่สี่ 20 กันยายน 2558
ออกเดินทางไปมหาลัยธรรมศาสตร์ กิจกรรมแรกคือ ฟังบรรยายการทำงานของกลุ่ม ซ.โซ่ อาสา , มูลนิธิอิสรชน แล้วก็เครือข่ายธรรมศาสตร์อาสา (TU Spirit)




เครือข่ายธรรมศาสตร์อาสา (TU Spirit)
จุดเริ่มต้นมาจากตั้งแต่ตอนน้ำท่วมใหญ่ ที่ม.ธ.รังสิต เปิดให้เป็นศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย จนกระทั่งโดนน้ำท่วมไปเลย เลยรวมตัวกันก่อตั้งกลุ่มอาสานับตั้งแต่นั้นมา

มูลนิธิอิสรชน  โดยนายนที สรวารี
องค์กรเอกชนในรูปบบอาสา ตั้งแต่ 2539 ดูแลเกี่ยวกับคนไร้บ้าน คนเร่รอน คนจอนจัด  คนด้อยโอกาส
ซ.โว่ อาสา

กลุ่ม ซ.โซ่ อาสา
ครูปู่ (นายธีระรัตน์ ชูอำนาจ ) ครูใหญ่ ซ. โซ่อาสา เริ่มหลังจากกษียนราชการ จุดเริ่มต้นมาจากความคิดที่ว่า " ถ้าสังคมมีเด็กแร่รอน ทำไมสังคมจึงมีโรงเรียนเร่รอนด้วยไม่ได้ "  โดยสอนทุกวันอาทิตย์ จะมีครูอาสามาสลับกันสอนเรื่องๆ เด็กที่เข้ามาไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กร่อนเร่ เด็กปกติในชุมชนก็เข้ามาได้

ซึ่งผมก็ได้แวะไปดู กลุ่ม ซ.โซ่ อาสา ด้วย


ครูปู่ด้านซ้าย คนด้านขวาเป็นเพื่อนครูที่รู้จักกันมาช่วยสอน

น้องๆอ่านพูดจีนกับญี่ปุ่นได้ด้วยน่ะครับ มีคูรครูมาสอน


  
ร้อนตับแตกกันเลยทีเดียว 555

จากนั้นก็ไปทัศนศึกษาที่พิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระนคร ก็สนุกดีครับ แอบร้อนไปหน่อย แต่ผมไม่ค่อยอินอะไรกับของแบบนี้ด้วยดิเลยไม่ได้ถ่ายรูปมาเลย










จากนั้นก็กลับมาฟังบรรยายต่ออีก พูดเลยว่าเหนื่อยโครตตตตตตต จะฟังนี่จะหลับล่ะ ทำไมไม่ฟังให้เสร็จทีเดียวแล้วไปทัศนศึกษาเลยก็ไม่รู้ เดินไปๆมาๆเดินกันเหนื่อยเลย

การสร้างจิตสำนึกอาสาสมัคร โดย ผศ.ดร. จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีวิทยาลัยฯ 




หลังจากกลับมาก็กลับห้องชาร์ดพลังสักนิด แล้วก็มาต่อปาร์ตี้สนุกๆกันเล็กน้อย ก่อนจะจากกันในตอนเช้า ก็สนุกแบบเป็นกันเองมาก เต้นกันมันเลย 5555



Nan & Mikky

Tar (Thai) & William (Indonesia)
Hearn from Cambodia

Choo - Mikky - Chai - Davin (Singapore)

Choo - Zhuojun (China) - Mint - May
Choo-May-Folk




วันที่ห้า 20 กันยายน 2558
เดินทางกลับหาดใหญ่ครับ ก่อนกลับถ่ายรูปกับเพื่อนชาวกัมพูชาที่ไปถึงสนามบินด้วยกันหน่อย ขอบคุณสำหรับของฝากด้วยน่ะครับ :)



Friends from Cambodia, Thank you for your gift. See you later, Good luck krub


สุดท้ายขอบคุณ กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ให้โอกาสส่งผมเป็นตัวแทนเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ในนามของอาสาสมัคร หน่วยส่งเสริมอาสาสมัคร ม.อ. มากครับ :)


Tag